# | รูปภาพ | ข้อมูลเผยแพร่ | |
---|---|---|---|
1 |
![]() |
เทคนิคการหยดเซล์เพื่อศึกษาโครโมโซม
โครโมโซมเป็นโครงสร้างที่อยู่ในนิวเคลียสของเซลล์ ในขณะที่เซลล์ไม่แบ่งตัวหรืออยู่ในระยะอินเตอร์เฟส (interphase) เราจะไม่เห็นโครโมโซมเนื่องจากโครโมโซมอยู่ในลักษณะเป็นเส้นใยเล็ก ๆ สานกันอยู่ในนิวเคลียส เส้นใยนี้เรียกว่า โครมาทิน (Chromatin) แต่เมื่อเซลล์จะแบ่งตัวโครมาทินแต่ละเส้นจะแบ่งจาก 1 เป็น 2 เส้น แล้วขดตัวสั้นเข้า และหนาขึ้นจนมองเห็นเป็นแท่งในระยะโพรเฟส และ เมทาเฟส และเรียกชื่อใหม่ว่า โครโมโซม ทำให้เรามองเห็นรูปร่างลักษณะและจำนวนโครโมโซมได้ โครโมโซมที่เห็นได้ชัดในระยะเมทาเฟต ประกอบด้วย โครมาทิด 2 อัน ยึดติดกันตรงเซนโทรเมียร์ ส่วนของโครโมโซมที่ยื่นออกไปจากเซนโทรเมียร์ เรียกว่า แขน อันสั้นเรียกว่า แขนสั้น อันยาวเรียกว่า แขนยาว ในโครโมโซมบางอัน มีเนื้อโครโมโซมเล็ก ๆ ยึดติดกับส่วนใหญ่โดยเส้นเล็ก ๆ เรียกว่า เนื้อโครโมโซมเล็ก ๆ นั้นว่า stellite และเส้นโครโมโซมเล็ก ๆ นั้น เรียกว่า secondary constriction |
ลิงค์ |
2 |
![]() |
เทคนิคการสกัดดีเอ็นเอ (DNA extraction technique)
ดีเอ็นเอ (deoxyribonucleic acid) เป็นสารชีวโมเลกุลที่มีขนาดใหญ่ เป็นกรดนิวคลีอิก (nucleic acid) ทำหน้าที่เก็บข้อมูลและถ่ายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมของสิ่งมีชีวิต DNA ส่วนใหญ่อยู่ในส่วนของโครโมโซม (chromosome) ซึ่งอยูํในนิวเคลียสภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต DNA มีหน้าที่สำคัญ 2 ประการคือ (1) การจำลองตัวเอง (DNA replication) DNA ของสิ่งมีชีวิตมีความสามารถสร้างและจำลองตัวเองขณะเกิดกระบวนการแบ่งเซลล์ เพื่อสร้าง DNA ที่เหมือนเดิมทุกประการให้แก่เซลล์ใหม่ (2) การถํายทอดข้อมูลทางพันธุกรรมผ่านกระบวนการสังเคราะห์RNA (RNA synthesis) โดยที่ DNA สามารถถูกถอดรหัส (transcription) เพื่อสร้างเป็น RNA (ribonucleic acid; RNA) ซึ่ง RNA ที่ได้จะทำหน้าที่กำหนดการเรียงตัวของกรดอะมิโนในกระบวนการสังเคราะห์โปรตีน จากนั้นโปรตีนจะถูกนำมาเป็นส่วนประกอบสำคัญในโครงสร้างขององค์ประกอบต่างๆภายในเซลล์ ควบคุมการเจริญเติบโตและกระบวนการต่างๆ ของสิ่งมีชีวิต |
ลิงค์ |
# | รูปภาพ | ข้อมูลเผยแพร่ | |
---|---|---|---|
1 |
![]() |
หนังสือสัตว์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
"หนังสือสัตว์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์" ผลงานนักศึกษาสาขาชีววิทยาชั้นปีที่ 3 โดยหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาอนุกรมวิธาน BIOL110 จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านสัตว์รอบรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้และประโยชน์กับผู้อ่าน โดยได้เก็บภาพถ่ายสัตว์ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์เพื่อรวบรวมข้อมูล และศึกษาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ ห้องสมุด เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดทำ คณะผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ที่สนใจต่อไป สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ https://mooc.pcru.ac.th/book-download/66e77c69be43b |
ลิงค์ |
2 |
![]() |
หนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์
"หนังสือพรรณไม้ในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์" ผลงานนักศึกษาสาขาชีววิทยาชั้นปีที่ 3 โดยหนังสือเล่มนี้เป็นส่วนหนึ่งของรายวิชาอนุกรมวิธาน BIOL110 จัดทําขึ้นเพื่อศึกษาความหลากหลายทางชีวภาพด้านพืชรอบรั้วมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ เพื่อเผยแพร่เป็นความรู้และประโยชน์กับผู้อ่าน โดยได้เก็บภาพถ่ายพืชในมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์เพื่อรวบรวมข้อมูล และศึกษาแหล่งข้อมูลอ้างอิงจากหนังสือ ห้องสมุด เว็บไซต์ต่าง ๆ เพื่อนำมาจัดทำ คณะผู้จัดทำคาดหวังเป็นอย่างยิ่งว่าหนังสือเล่มนี้จะมีข้อมูลที่จะเป็นประโยชน์ต่อผู้อ่านและผู้ที่สนใจต่อไป สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ https://mooc.pcru.ac.th/book-download/66e77b31d299b |
ลิงค์ |
3 |
![]() |
คู่มือ "ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่น้ำตกซับเดื่อ ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่ จ.เพชรบูรณ์"
คู่มือ "ความหลากหลายทางชีวภาพในพื้นที่น้ำตกซับเดื่อ ต.บ้านโภชน์ อ.หนองไผ่" ซึ่งอยู่ในพื้นที่ ท้องทะเลดึกดำบรรพ์บ้านโภชน์ อุทยานธรณีเพชรบูรณ์ รวบรวมข้อมูลและศึกษาวิจัยโดยนักศึกษาสาขาชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ สามารถดาวน์โหลดได้ที่ลิงค์ https://mooc.pcru.ac.th/book-download/663316eb21820 พิกัดตำแหน่ง https://maps.app.goo.gl/qt2NcSNqok9hRQqS6 เป็นสถานที่สำหรับศึกษาเรียนรู้และท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ โปรดช่วยกันอนุรักษ์และดูแลรักษาให้เป็นสมบัติของชุมชนท้องถิ่นอย่างยั่งยืนต่อไป |
ลิงค์ |
# | รูปภาพ | ข้อมูลเผยแพร่ | |
---|---|---|---|
1 |
![]() |
บทที่ 9 ความสัมพันธ์ของสิ่งมีชีวิตกับสิ่งแวดล้อม
มนุษย์และสิ่งมีชีวิตที่อาศัยอยู่บนโลกพึ่งพาอาศัยทรัพยากรธรรมชาติ นับตั้งแต่เกิดจนตาย สิ่งมีชีวิตมีความสัมพันธ์ซึ่งกันและกัน และมีความสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อม ในบริเวณหนึ่ง เรียกว่า ระบบนิเวศ (Ecosystem) สิ่งมีชีวิตที่รวมตัวกันอยู่ในระบบนิเวศ มีทั้งผู้ผลิต ผู้บริโภค และ ผู้ย่อยสลาย มีการถ่ายทอดพลังงานให้แก่กันและเกิดการหมุนเวียนสารเป็นวัฏจักร องค์ประกอบใน ระบบนิเวศมีหน้าที่และบทบาทแตกต่างกันออกไป การเปลี่ยนแปลงในระบบนิเวศจะค่อยเป็นค่อยไป ในธรรมชาติ ซึ่งเป็นการรักษาสมดุลของระบบนิเวศนั่นเอง |
ลิงค์ |
2 |
![]() |
บทที่ 8 กระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสงและหายใจระดับเซลล์
การสังเคราะห์ด้วยแสงและการหายใจระดับเซลล์ เมื่อสิ่งมีชีวิตดำรงชีวิตอยู่ เซลล์ของสิ่งมีชีวิตจะเกิดปฏิกิริยาทางชีวเคมีที่เรียกว่ากระบวนการเมแทบอลิซึม โดยกระบวนการนี้จะมีเอนไซม์ทำหน้าที่เป็นตัวเร่งปฏิกิริยาชีวเคมี นอกจากนี้ในการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิตจำเป็นต้องอาศัยพลังงานจากภายนอก โดยแหล่งพลังงานที่สำคัญคือดวงอาทิตย์ การถ่ายทอดพลังงานจึงมีความสำคัญอย่างมากต่อสิ่งมีชีวิตทุกชนิด พลังงานจากดวงอาทิตย์จะถูกดูดซับไว้โดยพืชและเปลี่ยนพลังงานนั้นให้กลายเป็นพลังงานเคมีด้วยกระบวนการสังเคราะห์ด้วยแสง ในขณะเดียวกัน กระบวนการสร้างพลังงานของสิ่งมีชีวิตยังรูปแบบการสร้างพลังงานโดยการดึงออกซิเจนเข้าสู่กระบวนการที่เรียกว่า กระบวนการหายใจ ซึ่งกระบวนการทั้งหมดนี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งในการดำรงชีพของสิ่งมีชีวิตทุกชนิด หากกระบวนการดังกล่าวทำงานบกพร่องหรือสูญเสียหน้าที่ไปก็อาจส่งผลให้สิ่งมีชีวิตนั้นๆ หยุดชะงักการเจริญเติบโต เจ็บป่วย หรือตายได้ |
ลิงค์ |
3 |
![]() |
บทที่ 7 การถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรม
ลักษณะทางพันธุกรรม (Genetic character) หมายถึง ลักษณะที่ถ่ายทอดจากบรรพบุรุษไปยังลูกหลานได้ เป็นลักษณะที่ต้องอาศัยการรวบรวมข้อมูลจากบรรพบุรุษหลายชั่วอายุ พันธุกรรมของลายพิมพ์นิ้วมือ (Fingerprint) คือ ลายเส้นนูนที่ปรากฏอยู่บนผิวหนังด้านหน้าของนิ้วมือ เริ่มปรากฏขึ้นตั้งแต่อยู่ในช่วงอายุทารกประมาณ 3-4 เดือน ขณะที่อยู่ในครรภ์มารดา ซึ่งประกอบด้วยร่อง (Furrow) และสัน (Ridge) หรือเรียกว่า เส้นลายนิ้วมือ ซึ่งธรรมชาติสรรสร้างให้ประโยชน์สำหรับช่วยยึดจับสิ่งของให้แน่นขึ้น และมีคุณสมบัติเด่น 2 ประการ คือ 1. ไม่มีการเปลี่ยนแปลงไปตามกาลเวลาหรือตลอดที่ยังมีชีวิต 2. มีรูปแบบเฉพาะในแต่ละคน ประโยชน์ลายพิมพ์นิ้วมือ การตรวจสอบลายพิมพ์นิ้วมือเพื่อพิสูจน์ตัวตนของบุคคล การตรวจสอบลายนิ้วมือเพื่อตรวจหาเจ้าของลายนิ้วมือ หรือที่ใช้ในงานด้านอาชญากรรมต่าง ๆ การยืนยันลายนิ้วมือ ซึ่งปัจจุบันนิยมใช้มากในด้านการบริหารงานบุคคล อาทิ การยืนยันการเข้าทำงานด้วยลายนิ้วมือ การยืนยันตัวตนเพื่อผ่านเข้าออกด้วยลายนิ้วมือ ซึ่งจะอาศัยเทคโนโลยีที่เรียก เครื่องสแกนลายนิ้วมือ |
ลิงค์ |
4 |
![]() |
บทที่ 6 เนื้อเยื่อพืช (Plant tissue)
เนื้อเยื่อพืช (plant tissue) โครงสร้างทุกส่วนของพืชไม่ว่าจะเป็น ราก ลำต้น ใบ ดอก ผล เมล็ด ต่างก็ประกอบด้วยเซลล์ เมื่อเซลล์หลาย ๆ เซลล์ร่วมกันทำงานอย่างใดอย่างหนึ่ง กลุ่มเซลล์นั้น เรียกว่า “เนื้อเยื่อ (tissue)” ในแต่ละระบบของร่างกาย เช่น ระบบลำเลียง ก็ประกอบด้วยเนื้อเยื่อจำนวนมากมาทำงานร่วมกัน เรียกว่า “ระบบเนื้อเยื่อ (tissue system)” โครงสร้างของพืชประกอบด้วย ระบบเนื้อเยื่อ 3 ระบบ ได้แก่ 1. ระบบเนื้อเยือผิว (Dermal tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อที่อยู่ที่ผิวของโครงสร้าง เช่น เอพิเดอร์มีส (epidermis) หรือ คอร์ก (cork) อย่างใดอย่างหนึ่ง ขึ้รอยู่กับระบบเนื้อเยื่อผิวส่วนนั้นเจริญเติบโตในระยะปฐมภูมิ (primary growth) หรือทุติยภูมิ (secondary growth) 2. ระบบเนื้อเยื่อลำเลียง (Vascular tissue system) ประกอบด้วยเนื้อเยื่อลำเลียงน้ำหรือ ไซเลม (xylem) และเนื้อเยื่อลำเลียงอาหาร หรือโฟลเอ็ม (phloem) 3. ระบบเนื้อเยื่อพื้น (fundamental หรือ ground tissue system) เป็นระบบเนื้อเยื่อที่ทำหน้าที่เป็นพื้นของโครงสร้างต่าง ๆ ประกอบด้วยเนื้อเยื่อ 2 ชนิด หรือ 3 ชนิด ดังนี้ 3.1 parenchyma 3.2 collenchyma 3.3 sclerenchyma ระบบเนื้อเยื่อพื้นของรากและลำต้นมักแบ่งเป็น 2 บริเวณ ได้แก่ บริเวณที่อยู่ระหว่างระบบเนื้อเยื่อผิวกับระบบเนื้อเยื่อลำเลียง เรียกบริเวณนี้ว่า คอร์เทกซ์ (cortex) กับบริเวณที่ถูกระบบเนื้อเยื่อลำเลียงล้อมไว้ เรียกว่า พิธ (pith) |
ลิงค์ |
5 |
![]() |
บทที่ 5 เนื้อเยื่อสัตว์ (Animal tissue)
สิ่งมีชีวิตหลายเซลล์ที่มีการทำงานร่วมกันของกลุ่มเซลล์ เพื่อให้ชีวิตดำรงอยู่ได้ เรียกกลุ่มเซลล์ที่มี รูปร่างลักษณะเหมือนกันและทำงานร่วมกันนี้ว่า เนื้อเยื่อ (tissue) และเมื่อเนื้อเยื่อหลายชนิดทำงานร่วมกันก็ จะประกอบขึ้นเป็นโครงสร้างหรือ อวัยวะต่างๆ (organs) ดังนั้นในการที่จะทำความเข้าใจเกี่ยวกับโครงสร้าง และหน้าที่ของอวัยวะต่างๆ ในสัตว์จึงจำเป็นต้องศึกษาลักษณะและหน้าที่ของเนื้อเยื่อต่างๆ เนื้อเยื่อสัตว์ (animal tissue) แบ่งออกเป็นชนิดต่างๆ ตามรูปร่างและหน้าที่ที่ต่างกัน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภทใหญ่ๆ คือ 1. เนื้อเยื่อบุผิว (epithelial tissue หรือ epithelium) 2. เนื้อเยื่อเกี่ยวพัน (connective tissue) 3. เนื้อเยื่อกล้ามเนื้อ (muscular tissue) 4. เนื้อเยื่อประสาท (nervous tissue) |
ลิงค์ |
6 |
![]() |
บทที่ 4 สารประกอบเคมีในสิ่งมีชีวิต (Biomolecules)
สารประกอบเคมีในสิ่งมีชีวิต หรือเรียกอีกอย่างว่า สารชีวโมเลกุล (Biomolecules) จัดเป็นสารประกอบอินทรีย์ (organic compound) เป็นสารประกอบเคมีหลักที่อยู่ภายในเซลล์สิ่งมีชีวิต ทำหน้าที่ 2 อย่างในเซลล์สิ่งมีชีวิต คือ 1) เป็นโครงสร้างของเซลล์และเนื้อเยื่อ เช่น เยื่อหุ้มเซลล์ ผนังเซลล์ และไรโบโซม เป็นต้น 2) เป็นสารที่ทำหน้าที่ต่าง ๆ ภายในเซลล์ของสิ่งมีชีวิต เช่น เอนไซม์ พลังงาน ATP ซึ่งทำให้เกิดปฏิกิริยาเมแทบอลิซึมและเป็นตัวให้พลังงานอีกด้วย สารอินทรีย์ที่มีอยู่ในสิ่งมีชีวิตโดยส่วนใหญ่ มีอยู่ 4 ประเภท ได้แก่ คาร์โบไฮเดรต โปรตีน ลิพิด และกรดนิวคลีอิก ซึ่งสารประกอบเคมีแต่ละประเภทสามารถนำมาทดสอบด้วยวิธีการที่แตกต่างกันไป |
ลิงค์ |
7 |
![]() |
บทที่ 3 การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีสและไมโอซีส (Cell division: Mitosis and Meiosis)
การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส (mitosis cell division) ซึ่งสามารถศึกษาการแบ่งเซลล์โดยการทำปฏิบัติการอย่างง่ายจากปลายรากหอม การแบ่งเซลล์แบบไมโทซิส เป็นการแบ่งเซลล์เพื่อเพิ่มจำนวนเซลล์ของร่างกายในการเจริญเติบโต ในสิ่งมีชีวิตหลายเซลล์หรือในการแบ่งเซลล์เพื่อการสืบพันธุ์ในสิ่งมีชีวิตเซลล์เดียวและหลายเซลล์บางชนิด เช่น พืช การแบ่งเซลล์แบบไมโทซีส ส่วนการแบ่งเซลล์แบบไมโอซิส (Meiosis cell division) คือ การแบ่งเซลล์เพื่อการสร้างเซลล์สืบพันธุ์ เป็นการเพิ่มจำนวนเซลล์จากเซลล์ดั้งเดิม 1 เซลล์ ได้เซลล์ใหม่ 4 เซลล์ โดยภายในเซลล์เหลือจำนวนโครโมโซมเพียงครึ่งเดียว ซึ่งเซลล์เหล่านี้ เมื่อเกิดการปฏิสนธิหรือเข้ากระบวนการผสมพันธุ์ จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงภายในสารพันธุกรรม หรือ การแปรผันทางพันธุกรรม (Gene Variation) ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของการพัฒนาความหลากหลายทางชีวภาพ และวิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต |
ลิงค์ |
8 |
![]() |
บทที่ 2 เซลล์และองค์ประกอบของเซลล์ (Cell and Cell component)
สิ่งมีชีวิตทุกชนิด ประกอบขึ้นด้วยหน่วยที่เล็กที่สุด ที่เรียกว่า เซลล์ (cell) ส่วนประกอบที่สำคัญของ เซลล์ คือ นิวเคลียสซึ่งเป็นที่อยู่ของสารพันธุกรรม (DNA) ออร์แกนเนลล์และไซโทพลาสซึม พืชและสัตว์ เป็น สิ่งมีชีวิตที่เกิดขึ้นจากเซลล์แต่ละเซลล์มาเชื่อมต่อกันจำนวนหลายล้านเซลล์ เซลล์พืชและเซลล์สัตว์เป็นหน่วยที่เล็กที่สุดของสิ่งมีชีวิต มีส่วนประกอบที่เหมือนกันคือ มีเยื่อหุ้มเซลล์ นิวเคลียส และไซโตพลาสซึม ส่วนประกอบที่แตกต่างกันคือ เซลล์สัตว์มีรูปร่างกลมรี ไม่มีคลอโรพลาสต์ คลอโรฟิลล์ และผนังเซลล์ ส่วนเซลล์พืชมีรูปร่างสี่เหลี่ยม มีคลอโรพลาสต์คลอโรฟิลล์ และผนังเซลล์ |
ลิงค์ |
9 |
![]() |
บทที่ 1 การใช้กล้องและองค์ประกอบของกล้องจุลทรรศน์ (Light microscope)
ปฏิบัติการเรื่องกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งเป็นเครื่องมือการทำปฏิบัติการพื้นฐานทางด้านชีววิทยา ปฏิบัติการนี้น้องๆ นักศึกษาจะได้เรียนรู้ส่วนประกอบของกล้องจุลทรรศน์ และการใช้งานของกล้องจุลทรรศน์ ซึ่งกล้องจุลทรรศน์ที่นักศึกษาจะได้ใช้ในการเรียนปฏิบัติการคือ กล้องจุลทรรศน์ใช้แสงแบบเชิงประกอบ (compound light microscope) เป็นกล้องจุลทรรศน์ ชนิดที่ใช้เลนส์หลายอันและมีกำลังขยายต่างๆ กันจะเห็นภาพวัตถุได้โดยมีการสะท้อนแสงจากวัตถุเข้าสู่เลนส์ประกอบด้วย เลนส์ 2 ชุด คือ เลนส์ใกล้วัตถุ (objective lens) และเลนส์ใกล้ตา (ocular lens หรือ eyepiece) กำลังขยายของภาพคือ ผลคูณของกำลังขยายของเลนส์ใกล้วัตถุกับกำลังขยายของเลนส์ใกล้ตา ความสามารถในการแจกแจงรายละเอียดของภาพของกล้องจุลทรรศน์ขึ้นอยู่กับคุณสมบัติของเลนส์ |
ลิงค์ |