รายละเอียดข้อมูลพรรณไม้

กระโดน

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นผลัดใบขนาดกลาง สูง 10-20 เมตร ใบเดี่ยว เรียงเวียน ใบรูปไข่กลับหัว ปลายใบมนหรือแหลม ฐานใบแหลมหรือสอบแคบ ขอบใบหยักมน มีขนอ่อน บนก้านใบเป็นสีแดงเรื่อ ใบแก่ก่อนร่วงสีส้มแดง ขนาด 8-10x16-20 เซนติเมตร ดอกเป็นช่อแบบกระจะ ออกปลายกิ่ง กลีบดอก 2 ชั้น ชั้นนอกสีชมพูเรื่อ ชั้นในสีขาว ปลายกลีบแตกเป็นเส้น กลีบเลี้ยง 4 กลีบ เกสรเพศผู้จำนวนมาก โคนเชื่อมติดกัน ปลายแยกอิสระ รังไข่อยู่ใต้วงกลีบ มี 4 ช่อง ผลสดแบบ berry กลม ขนาด 3-6 เซนติเมตร เมล็ดรูปรี มีหลายเมล็ด เปลือกนอกสีเทาน้ำตาล แตกเป็นร่องสี่เหลี่ยม เปลือกในสีน้ำตาลแดง ใบอ่อนสีน้ำตาลเรื่อมีรสฝาด

ประโยชน์

อาหาร สมุนไพร ที่อยู่อาศัย เครื่องจักสานและเครื่องใช้สอย ยอดอ่อนรับประทานได้

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์

พบในป่าเต็งรัง ป่าชายหาด ป่าดิบและป่าผสมผลัดใบ ความสูงตั้งแต่ใกล้ระดับน้ำทะเลจนถึงประมาณ 500 เมตร มีการกระจายพันธุ์ในอินเดีย ภูฏาน พม่า ไทย ภูมิภาคอินโดจีน และคาบสมุทรมลายู

ชื่อพื้นเมือง

ปุย (เหนือ ใต้) ปุยขาว ผ้าฮาด (เหนือ) Careya sphaerica

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ