รายละเอียดข้อมูลพรรณไม้

กระพี้นางนวล

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้น สูง 10-30 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เรียงแบบสลับ ก้านใบยาว 2-3.5 เซนติเมตร มีขนกำมะหยี่หนาแน่น ใบย่อย 17-27 ใบ เรียงสลับ รูปหอกแกมรี ยาว 3-7 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2.5 เซนติเมตร ปลายแหลม ฐานรูปลิ่ม ขอบเรียบ เส้นกลางใบมีขน
หนาแน่น ดอกแบบช่อแยกแขนง ยาว 8-12 เซนติเมตร ออกที่ซอกใบ กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอกสีขาว เกสรเพศผู้ มี 10 อัน เชื่อม กันเป็นกลุ่มเดียว เกสรเพศเมีย มีรังไข่ที่มีขนอุย ผลเป็นฝักแห้งแตกตามตะเข็บ แบน รูปขอบขนาน ยาว 7-11 เซนติเมตร กว้าง 1.5-2 เซนติเมตร เมล็ด มี 1-3 เมล็ด

ประโยชน์

เป็นไม้ประดับเนื่องจากมีช่อดอกที่สวยงาม เมื่อถึงฤดูกาลออกดอกกระพี้จั่นจะทิ้งใบ และผลิดอกสีม่วงอมครามกระจ่างไปทั้งต้น
เนื้อไม้ : ใชใน้การก่อสร้าง ใช้ทำเครื่องมือช่าง หรือเครื่องมือ
การเกษตร ทำเยื่อกระดาษ
ลำต้น : ต้มดื่มบำรุงเลือด
ใบ : ใบอ่อนสามารถนำมารับประทานได้

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์

พบขึ้นทั่วไปในป่าดิบแล้ง
ป่าเบญจพรรณและป่าเต็งรัง อยู่สูงจากระดับน้ำทะเลไม่เกิน 1,000 เมตร

ชื่อพื้นเมือง

กระพี้ (เหนือ) กระพี้จั่น กระพี้นางนวล กระพี้เหลือง (พิษณุโลก) กระพี้พูน (อุตรดิตถ์) กระพี้เหลือบ กระลิงปิงป่า (ราชบุรี) เค็ด ขาว จักจั่น บี้พง ปิ้จั่น อิเม็งใบเล็ก ประดู่ตาเหลน

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ