รายละเอียดข้อมูลพรรณไม้

กัดลิ้น

ลักษณะทั่วไป

ไม้ต้นขนาดเล็กถึงขนาดกลาง ความสูง 7-12 เมตร ใบประกอบแบบขนนกปลายคี่ เวียนสลับ ใบย่อยเรียงตรงกันข้ามจำนวน 5-9 ใบ ใบย่อยรูปรี รูปไข่กลับ ฐานใบแหลม ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ปลายใบแหลมหรือเรียวแหลม ขนาดใบย่อย กว้าง 2-4 เซนติเมตร ยาว 5-8 เซนติเมตร ใบเกลี้ยง หลังใบเขียวเข้ม ท้องใบเขียวนวล ดอกเป็นช่อดอกแบบช่อแยกแขนง ออกตามปลายกิ่ง ดอกขนาดเล็ก กลีบเลี้ยงสีเหลืองอมเขียว กลีบดอกสีขาว ผลเมล็ดเดียว แข็ง กลม ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง 1 เซนติเมตร ผลสุกสีเหลือง เนื้อหุ้มเมล็ดสีขาวหวานเล็กน้อย เมล็ด 1 เมล็ด เปลือกนอกสีน้ำตาลเทา เปลือกแตกเป็นสะเก็ดบางๆ เปลือกในบางสีน้ำตาลแดง

ประโยชน์

เนื้อไม้สีขาวอมเหลือง ใช้ทำด้ามเครื่องมือเกษตรกรรมทั่วไปแพทย์แผนโบราณใช้รากและเปลือกเป็นยา

นิเวศวิทยาและการกระจายพันธุ์

พบทั่วไปในป่าดิบแล้ง หรือป่าดิบบริเวณริมห้วย ต่างประเทศพบในอินเดีย พม่า กัมพูชา เวียดนาม จีนตอนใต้

ชื่อพื้นเมือง

กัดลิ้น (พิจิตร) ขี้อ้าย (ลำปาง) มะค่าลิ้น (ปราจีนบุรี อุตรดิตถ์) ลำไยปา (อุตรดิตถ)

อ้างอิง

-

อัลบั้มภาพ