Call Us

096-2585927,084-6809862

Email Us

scijournal@pcru.ac.th

Principle and reason

หลักการและเหตุผล

        การศึกษาวิจัย ถือเป็นภารกิจหลักอีกภารกิจหนึ่งของสถาบันอุดมศึกษาเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ในเชิงวิชาการ และนำไปสู่การพัฒนาประเทศ อีกทั้งการวิจัยยังใช้เป็นตัวชี้วัดที่สำคัญของการประเมินผลการปฏิบัติราชการของสถาบันการศึกษา ทั้งนี้ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ตระหนักถึงความสำคัญของงานวิจัยและงานสร้างสรรค์ โดยมีนโยบายส่งเสริมและสนับสนุนให้คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ผลิตผลงานวิจัย งานสร้างสรรค์และนวัตกรรมอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงการสนับสนุนงานวิจัยต่อยอดร่วมกันในการจัดการศึกษาโดยที่มุ่งเน้นให้มีการรังสรรค์งานวิจัย และนวัตกรรมที่มีคุณภาพ เพื่อนำไปใช้ประโยชน์และเป็นที่ยอมรับต่อสาธารณชน การวิจัยและพัฒนานวัตกรรมต่าง ๆ จึงไม่เพียงแต่ต้องมุ่งเน้นให้ความสำคัญกับการสร้างองค์ความรู้ และส่งเสริมให้สถาบันอุดมศึกษามีส่วนร่วมในการเสริมสร้างความเข้มแข็งของเศรษฐกิจฐานรากเชื่อมโยงกับเครือข่ายชุมชนท้องถิ่น โดยนําองค์ความรู้จากผลงานวิจัย และพัฒนาภูมิปัญญาท้องถิ่น มาถ่ายทอดทักษะความรู้ และเทคโนโลยี ที่เหมาะสมแก่ชุมชนทั้งนี้ชุมชนเป็นผู้กำหนดประเด็นปัญหาโจทย์วิจัย
        ดังนั้น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ จึงได้จัดการประชุมวิชาการระดับชาติ คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ครั้งที่ 3 ประจำปี 2567 ขึ้น ภายใต้ชื่อ “งานวิจัยและนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาท้องถิ่น (Research and innovation for local development)” เพื่อเป็นเวทีในการนำเสนอผลงานวิชาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี โดยรูปแบบการนำเสนอผลงาน เป็นภาคบรรยาย (Oral Presentation) ซึ่งผู้นำเสนอผลงานและผู้เข้าร่วมประชุม จะได้ใช้เวทีนี้ในการแลกเปลี่ยนความรู้และต่อยอดงานวิจัยเพื่อประโยชน์ต่อสังคมโดยรวมต่อไป

Objectives

วัตถุประสงค์

1) เพื่อเผยแพร่ผลงานและเป็นเวทีสำหรับการนำเสนองานวิจัย งานสร้างสรรค์ สิ่งประดิษฐ์ และนวัตกรรมด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
2) เพื่อกระตุ้นให้คณาจารย์ นักวิจัย และนักศึกษา รวมทั้งผู้ที่สนใจ เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ ตลอดจนข้อคิดเห็นในการพัฒนางานวิจัย อันจะทำให้เกิดงานวิจัยที่มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3) เพื่อส่งเสริมให้บุคลากรมีการทำงานวิจัยเพิ่มผลงานทางวิชาการและพัฒนาทักษะการนำเสนอผลงานวิจัยของนักศึกษา

Project target group

กลุ่มเป้าหมายการดำเนินโครงการ

คณาจารย์ นักวิจัย นักศึกษา ในระดับอุดมศึกษาบุคลากรจากหน่วยงานต่างๆ และผู้สนใจทั่วไป

Participating article category

สาขาที่เปิดรับบทความ

กลุ่มวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้แก่ ฟิสิกส์ เคมี ชีววิทยา จุลชีววิทยา วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม คณิตศาสตร์ สถิติ คอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ วิศวกรรมศาสตร์ เกษตรศาสตร์ วิทยาศาสตร์สุขภาพวิทยาศาสตร์ศึกษา

Responsible agencies

หน่วยงานที่รับผิดชอบ

คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์

Time and place of project implementation

ระยะเวลาและสถานที่ดำเนินโครงการ

วันที่ 8 มีนาคม 2567

schedule

กำหนดการ

กิจกรรม กำหนดการ
เปิด - ปิดรับบทความ (Full Paper) 1 ตุลาคม 2566 ถึง 28 มกราคม 2567
แจ้งผลการพิจารณาบทความ 1 กุมภาพันธ์ 2567
นำเสนอผลงาน (ผ่านระบบ Zoom) 8 มีนาคม 2567