ประวัติคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี

   

         คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นหน่วยงานหนึ่งในโครงสร้างของมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบูรณ์ ได้ตั้งขึ้นตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 ซึ่งพบว่าเป็นคณะที่ตั้งขึ้นมาพร้อม ๆ กันกับภารกิจตั้งสถาบัน ในระยะเริ่มต้นนี้ เรียกว่า หมวดวิทยาศาสตร์ โดยทำหน้าที่ในการผลิตครูรุ่นแรกในปี พ.ศ. 2519 และมีการพัฒนาเรื่อยมาตามลำดับ ต่อมาในปี พ.ศ.2527 ได้พัฒนาจากหมวดวิทยาศาสตร์ มาเป็นคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู ฉบับที่ 2 พ.ศ. 2527 ซึ่งมีผลให้สามารถทำการสอนหลักสูตรวิทยาศาสตร์บัณฑิตได้ และปรับเปลี่ยนสถานภาพตามพระราชบัญญัติสถาบันราชภัฏ พ.ศ. 2538 ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มีภาควิชาในสังกัด 9 ภาควิชาคือภาควิชาฟิสิกส์และวิทยาศาสตร์ทั่วไป ภาควิชาเคมี ภาควิชาชีววิทยา ภาควิชาวิทยาศาสตร์สุขภาพ ภาควิชาคณิตศาสตร์ ภาควิชาคหกรรมศาสตร์ ภาควิชาคอมพิวเตอร์ ภาควิชาหัตถศึกษาและอุตสาหกรรมศิลป์และภาควิชาเกษตรศาสตร์ พ.ศ. 2539 ภาควิชาเกษตรศาสตร์ได้ปรับระดับขึ้นเป็นคณะเทคโนโลยีการเกษตร เพื่อรองรับการแบ่งส่วนราชการใหม่ ขณะนั้นจึงมีภาควิชาในสังกัดคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพียง 8 ภาควิชา พ.ศ. 2542 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีได้ปรับเปลี่ยนการบริหารที่แต่เดิมเป็นภาควิชามาเป็น การบริหารแบบโปรแกรมวิชา ตามประกาศสถาบันราชภัฏเพชรบูรณ์เรื่องการยกเลิกภาควิชาตั้งแต่วันที่ 17 พฤศจิกายน พ.ศ. 2542 โดยจัดการศึกษาหลักสูตรต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
    1. หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรี 4 ปี (วท.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาเคมี ชีววิทยาประยุกต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สุขศึกษา การออกแบบผลิตภัณฑ์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม และหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ อนุปริญญา 2 ปี (อ.วท.) ได้แก่สาขาวิชาโลหะ ก่อสร้าง อาหาร
    2. หลักสูตรสาขาการศึกษา ปริญญาตรี 4 ปี (ค.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป สุขศึกษา คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์ โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับ คณะครุศาสตร์

พ.ศ. 2543 โปรแกรมวิชาและสาขาที่เปิดสอน ได้แก่
1. หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.)
    - หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี (วท.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาเคมี ชีววิทยาประยุกต์ สุขศึกษา วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีอุตสาหกรรม
    - หลักสูตรอนุปริญญา 2 ปี (อ.วท.) ได้แก่สาขาวิชาโลหะ ก่อสร้าง และอาหาร
2. หลักสูตรสาขาการศึกษา (ค.บ.) เป็นหลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป สุขศึกษา คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์ โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์

พ.ศ. 2544 โปรแกรมวิชาและสาขาที่เปิดสอน ได้แก่
    - หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ ปริญญาตรี 4 ปี (วท.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาเคมี ชีววิทยาประยุกต์ วิทยาการคอมพิวเตอร์ สุขศึกษา เทคโนโลยีอุตสาหกรรม ออกแบบผลิตภัณฑ์ และหลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ อนุปริญญา 2 ปี (อ.วท.) ได้แก่สาขาวิชาโลหะและก่อสร้าง
    - หลักสูตรสาขาการศึกษาปริญญาตรี 4 ปี (ค.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป สุขศึกษา คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์ โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์

พ.ศ. 2545 โปรแกรมวิชาและสาขาที่เปิดสอน ได้แก่
1. หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.)
    - หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่โปรแกรมวิชาเคมี ชีววิทยาประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาการคอมพิวเตอร์ สุขศึกษา ออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    - หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปีหลัง ได้แก่สาขาการผลิต ไฟฟ้า ก่อสร้าง การจัดการอุตสาหกรรม
2. หลักสูตรสาขาการศึกษาปริญญาตรี 4 ปี (ค.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชาฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ วิทยาศาสตร์ทั่วไป คอมพิวเตอร์ศึกษา คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์

พ.ศ. 2546 โปรแกรมวิชาและสาขาที่เปิดสอน ได้แก่
1. หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ.)
    - หลักสูตรปริญญาตรี 4 ปี ได้แก่โปรแกรมวิชาเคมี ฟิสิกส์ ชีววิทยาประยุกต์ สถิติประยุกต์ วิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ และออกแบบผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรม
    - หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปีหลัง ได้แก่สาขาการผลิต ไฟฟ้า ก่อสร้าง การจัดการอุตสาหกรรม คอมพิวเตอร์อุตสาหกรรมและอิเล็กทรอนิกส์ 2. หลักสูตรสาขาการศึกษา ปริญญาตรี 4 ปี (ค.บ.) ได้แก่โปรแกรมวิชา ฟิสิกส์ ชีววิทยา คณิตศาสตร์ คอมพิวเตอร์ศึกษา วิทยาศาสตร์ทั่วไป คหกรรมศาสตร์และอุตสาหกรรมศิลป์ โดยจัดการเรียนการสอนร่วมกับคณะครุศาสตร์

พ.ศ. 2547 โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีอุตสาหกรรม และ โปรแกรมวิชา คหกรรมศาสตร์ได้ย้ายไปสังกัดคณะเทคโนโลยีการเกษตร ทำให้มีโปรแกรมวิชาและสาขาที่เปิดสอนในระดับปริญญาตรี ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี หลักสูตรสาขาวิทยาศาสตร์ (วท.บ) 4 ปี ได้แก่ โปรแกรมวิชาเคมี ฟิสิกส์ สาธารณสุขชมชน ชีววิทยาประยุกต์ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร วิทยาการคอมพิวเตอร์ เทคโนโลยีสารสนเทศ พ.ศ. 2548 - 2549 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอน ในระดับปริญญาตรีและปริญญาโท ดังต่อไปนี้
1. ระดับปริญญาตรีวิทยาศาสตร์บัณฑิต (วท.บ.) ในโปรแกรมวิชาต่าง ๆ ดังนี้
  1. โปรแกรมวิชาเคมี
  2. โปรแกรมวิชาฟิสิกส์
  3. โปรแกรมวิชาชีววิทยาประยุกต์
  4. โปรแกรมวิชาสาธารณสุขชุมชน
  5. โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
  6. โปรแกรมวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  7. โปรแกรมวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  8. โปรแกรมวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
2. ระดับปริญญาโทวิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตรศึกษา
พ.ศ. 2550 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้เปิดสอนในระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ระดับปริญญาตรี 4 ปี จำนวน 7 หลักสูตร ได้แก่
  1. หลักสูตรสาขาวิชาเคมี
  2. หลักสูตรสาขาวิชาฟิสิกส์
  3. หลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยาประยุกต์
  4. หลักสูตรสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  5. หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  6. หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  7. หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
พ.ศ. 2551 - 2563 คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรใหม่โดยเปิดสอน
1. ระดับปริญญาตรี จำนวน 9 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ได้แก่
  1.1 หลักสูตรสาขาวิชาเคมี
  1.2 หลักสูตรสาขาวิชาฟิสิกส์
  1.3 หลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยา
  1.4 หลักสูตรสาขาวิชาสาธารณสุขชุมชน
  1.5 หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีการอาหาร
  1.6 หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  1.7 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1.8 หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์
  1.9 หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาศาสตร์สิ่งแวดล้อม
2. ระดับปริญญาโท จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
พ.ศ. 2564 – ปัจจุบัน คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้ปรับปรุงหลักสูตรและพัฒนาหลักสูตรใหม่โดยเปิดสอน
1. ระดับปริญญาตรี จำนวน 10 หลักสูตร ได้แก่ หลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต (วท.บ.) ได้แก่
  1.1 หลักสูตรสาขาวิชาเคมี
  1.2 หลักสูตรสาขาวิชาฟิสิกส์
  1.3 หลักสูตรสาขาวิชาชีววิทยา
  1.4 หลักสูตรสาขาวิชาสาธารณสุขศาสตร์
  1.5 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีอาหารและการพัฒนาผลิตภัณฑ์
  1.6 หลักสูตรสาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์
  1.7 หลักสูตรสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศ
  1.8 หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์และสถิติประยุกต์
  1.9 หลักสูตรสาขาวิชาการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม
  1.10 หลักสูตรสาขาวิชาการแพทย์แผนไทย 2. ระดับปริญญาตรี หลักสูตรวิทยาศาสตรศึกษา (คบ.) จำนวน 1 หลักสูตร คือ หลักสูตรสาขาวิชาคณิตศาสตร์และวิทยาการคำนวณ
3. ระดับปริญญาโท หลักสูตรวิทยาศาสตรมหาบัณฑิต (วท.ม.) จำนวน 1 หลักสูตร คือ สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา
4. ระดับปริญญาเอก หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต (ปร.ด.) จำนวน 1 หลักสูตร สาขาวิชาวิทยาศาสตร์ศึกษา